จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีแนวโน้มลุกลามส่งผลกระทบในวงกว้างกับประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
ที่ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ธ.ก.ส.จึงได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาดังกล่าว
โดยขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไป 2 ปี พร้อมจัดวงเงินสินเชื่อ 5 พันล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0% ใน 2 ปีแรก เพื่อสร้าง พัฒนา และปรับปรุงแหล่งน้ำ ไว้ใช้บรรเทาความเดือดร้อน ในภาวะวิกฤต
ซึ่งมาตรการดังกล่าว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และคลายความกังวล ในเรื่องภาระหนี้สินของเกษตรกร
โดย ธ.ก.ส.ขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้ ก่อนถึงกำหนดชำระออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.2563 ถึง 31 ธ.ค.2564
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับโครงการสินเชื่อ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร สำหรับเกษตรกร ผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2563
เพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุน ในการจัดหา สร้าง/พัฒนา และปรับปรุงแหล่งน้ำ ไว้ใช้ในยามวิกฤต และลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง
ซึ่งเบื้องต้นมีประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว 20 จังหวัด ได้แก่
เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย สุพรรณบุรี พะเยา และสกลนคร
โดยเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งสามารถกู้เพื่อนำไปลงทุนได้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี ใน 2 ปีแรก
ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR-2 (ปัจจุบัน MRR= 6.875) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี ระยะเวลาสนับสนุนสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2563 ถึง 31 ธ.ค. 2563
หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูล และรายละเอียดได้ที่ ธ.ก.ส.ในพื้นที่ประสบภัย หรือ ธ.ก.ส.ใกล้บ้านท่าน